วิสัยทัศน์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์จังหวัดบุรีรัมย์/เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์

วิสัยทัศน์จังหวัดบุรีรัมย์ (VISION)/เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์
|
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมเข้มแข็ง
|
พันธกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ ( Mission )
|
1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และส่งเสริมกีฬาสู่มาตรฐานโลก
2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรและอาหารปลอดภัยได้มาตรฐาน 3. ส่งเสริมการผลิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. ส่งเสริมการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากไหมและผลิตภัณฑ์ชุมชน 5. อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 6. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนบุรีรัมย์ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
วัตถุประสงค์รวม
|
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล 3. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย 4. หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและคุณภาพของน้ำควบคู่การเสริมสร้างความรู้ในเรื่องน้ำและการบริหารจัดการน้ำ 6. เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืน 7. เพื่อจัดการขยะ/สิ่งปฏิกูล และลดมลพิษอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 8. สังคมสงบสุขและอบอุ่น 9. เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 10. เพื่อส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด |
ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนา
|
1. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2.อัตราการขยายตัวของ GPP จังหวัดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 3. ครัวเรือนที่อยู่ใต้เกณฑ์ความยากจนได้รับการแก้ไขปัญหาให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50 4. ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 5. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ประเด็นการพัฒนา
|
ประเด็นการพัฒนาที 1 : ด้านเศรษฐกิจ |
"เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก และการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย" |
|
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก 2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล |
|
1.รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10) 2. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 ) 3. ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10) 4. ร้อยละของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) (ร้อยละ 80) 5. มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 ) 6. อัตราการขยายตัวของ GPP ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5) 7. จำนวนพื้นที่การเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐาน อินทรีย์/GAP (ไร่) |
|
1. พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน 2. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว 3. พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัด 4.ส่งเสริมและพัฒนาความปลอดภัยและสุขอนามัยด้านการท่องเที่ยว 5. พัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 6. ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวแบบประชารัฐ 8. พัฒนากีฬาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในทุกรูปแบบ 9. สร้างอัตลักษณ์เมืองบุรีรัมย์ให้เป็น “เมืองแห่งความจงรักภักดี” (Buriram Blue City) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 10. ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน 11. เร่งรัดการจัดหาน้ำและการเตรียมความพร้อมในการให้บริการน้ำเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองบุรีรัมย์ 12. ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์กีฬา และสนามกีฬามาตรฐานโลก 13. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวแบบครบวงจร 14. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และกลุ่มจังหวัดอิสานใต้ 15.ส่งเสริมการค้าชายแดนเพื่อการค้าและการลงทุน 16. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร 17. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย 18. ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่ายเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย 19. ส่งเสริมการน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับแผนชีวิตหมู่บ้าน 20. ส่งเสริมการลงทุนและปัจจัยเอื้อให้เกิดการลงทุน เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมกลุ่มวิสาหกิจ 21. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพและมาตรฐาน 22. ส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรแปรรูปและเกษตรปลอดภัย 23. ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตไหมและผลิตภัณฑ์จากไหมแบบครบวงจร 24. การบริหารจัดการทางการเกษตร (Zoning) 25. พัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพ 26. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร |
ประเด็นยการพัฒนาที่ 2 : ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต |
"คนบุรีรัมย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นคง ยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียง" |
|
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย 2. เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
|
1.ร้อยละของครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ให้มีรายได้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. (ร้อยละ 50) 2. ร้อยละของประชากรได้รับการพัฒนาและสริมสร้างศักยภาพตามช่วงวัย 3. คนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาชีพและรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ (ร้อยละ 90) 4. เด็กอายุ 6-14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ร้อยละ 90) 5. ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 50) |
|
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชนทุกช่วงวัย 2. ส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวให้มีความอบอุ่น 3. ส่งเสริมการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. เสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนทุกระดับ ตามเกณฑ์คุณภาพทางการศึกษาของท้องถิ่นและระดับชาติ 5. เสริมสร้างความมีศีลธรรมและการใช้ศีลธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงอยู่ในชุมชนและสังคมของเด็กและเยาวชนในทุกระดับ 6. ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านแรงงานและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน 7. ส่งเสริมการสร้างอาชีพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และการจัดการแบบครบวงจรของกลุ่มอาชีพและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยกลไกประชารัฐ 8. ยกระดับการบริการสาธารณสุข การเรียน การสอน และการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 9. ส่งเสริมและพัฒนามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต 10. ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนชีวิตหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี (เป็นคนดี มีปัญญา รายได้สมดุล สุขภาพแข็งแรง สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ สังคมอบอุ่น หลุดพ้นอาชญากรรม กองทุนพึ่งพาตนเอง และคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง) 11. สร้างและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกลในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ สู่การปฏิบัติในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน |
ประเด็นยการพัฒนาที่ 3 :ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
" ทรัพยากรธรรมชาติสร้างสรรค์ชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" |
|
1. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและคุณภาพของน้ำ ควบคู่การเสริมสร้างความรู้ในเรื่องน้ำและการบริหารจัดการน้ำ 2. เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืน 3. เพื่อจัดการขยะ/สิ่งปฏิกูล และลดมลพิษอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน |
|
1. จำนวนแหล่งน้ำของจังหวัดมีปริมาณและคุณภาพเพียงพอสำหรับการใช้ประโยชน์ (แห่ง) 2. จำนวนพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำาท่วม และภัยธรรมชาติต่างๆ ได้รับการแก้ไขปัญหา (แห่ง) 3. ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น 4. ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ |
|
1. ส่งเสริมการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคให้เพียงพอ ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้ในเรื่องน้ำและการบริหารจัดการน้ำ 2. ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ โดยเน้นการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและชาญฉลาด 3. ส่งเสริมให้เกิดชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นหน้าที่ของพลเมืองคนบุรีรัมย์ 5. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการควบคุมและลดมลพิษโดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 6. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในระดับพื้นที่ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 7. ส่งเสริมให้เกิดชุมชนหรือองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร |
ประเด็นการพัฒนาที่ 4: ด้านรักษาความมั่นคงและความสงบ |
" บุรีรัมย์สงบสุข " |
|
1. เพื่อให้สังคมสงบสุขและอบอุ่น 2. เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3. เพื่อส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด |
|
1. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดฟื้นฟูและได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง |
|
1. พัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน/ชุมชน และการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เพียงพอต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน 2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างยั่งยืน 3. ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ และได้รับการติดตามดูแลช่วยเหลือภายหลังจาการบำบัดฟื้นฟู 4. เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการสร้างความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ของประชาชนภายในจังหวัด 5. ป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษาที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาภัยทางสังคม และภัยยาเสพติด 6 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการ การตรวจสอบ และการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบ 7. เสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันด้านความมั่นคงภายในจังหวัด 8. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ ของหมู่บ้านตามแนวชายแดนให้เป็นหมู่บ้านมั่นคงและสงบสุข 9. พัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 10. พัฒนาระบบเครือข่ายข่าวภาคประชาชน 11. สร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด 12. รณรงค์และส่งเสริมการขึ้นทะเบียน การควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการและในชุมชน เพื่อจัดระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง 13. รณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและสาธารณภัยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายของประชาสังคม |